Real Property Management

บริษัท เรียล พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด ก่อตั้งเมื่อปี 2540
จากอุดมการณ์ และความร่วมมือของกลุ่มผู้บริหารอาคารระดับมืออาชีพ

NEWS UPDATE

ดูหน้า

พรบ. จัดสรรที่ดิน 2543

ตาม พรบ. จัดสรรที่ดิน 2543 สามารถไปดำเนินการจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรรเพื่อมาดูแลทรัพย์ส่วนกลางของหมู่บ้านได้ ให้สอบถามไปยังกรมที่ดิน หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดก็ได้นะ 
 

ขั้นตอนการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและนิติบุคคลตามกฏหมายอื่นของโครงการการจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาต
ตามพระราช บัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543

 
  1. ผู้จัดสรรที่ดิน ที่มีความประสงค์จะพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตาม
แผนผังและโครงการ ที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินต้องบำรุงรักษา
สาธารณูปโภคตามที่ได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการ (ม. 23 (5)) และมีผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่า
กึ่งหนึ่ง ของจำนวน แปลงย่อยตามแผนผังโครงการจัดสรรที่ดินแล้ว ต้องดำเนินการดังนี้


การดำเนินงาน
1.1) จัดทำบัญชีทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ (ถ้ามี) ตามแผนผัง และโครงการจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาต
ประกอบด้วยรายละเอียด
- หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง
- จำนวนเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภค ที่ผู้จัดสรรที่ดินต้องรับผิดชอบ ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าเงินที่ทำสัญญาค้ำประกันบำรุงรักษา
สาธารณูปโภค (ร้อยละ 7ของประมาณการค่าจัดทำสาธารณูปโภคทั้งโครงการตามราคาก่อสร้างกลางของทางราชการในขณะทำสัญญา
ค้ำประกันการบำรุง รักษาสาธารณูปโภคซึ่งไม่รวมค่าจัดทำระบบไฟฟ้าและประปา)
- ระบุให้ทราบว่าบริการสาธารณะใดบ้างที่ประสงค์จะโอนให้
1.2) แจ้งให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกรายทราบ พร้อมบัญชีทรัพย์สินตามข้อ 1 เพื่อดำเนินการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือนิติบุคคลตาม
กฏหมาย อื่นเพื่อรับโอนทรัพย์สินดังกล่าว ไปจัดการดูแลบำรุงรักษา โดยกำหนดระยะเวลาให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรต้องจัดตั้งนิติบุคคลฯ และ
รับโอนทรัพย์สิน ตามบัญชีให้แล้วเสร็จ ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร รายสุดท้าย ได้รับแจ้ง การแจ้ง
ดังกล่าวให้ทำเป็น หนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังภูมิลำเนาของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร (ตัวอย่าง)
1.3) ประกาศในหนังสือพิมพ์ซึ่งแพร่หลายในท้องถิ่นนั้นไม่น้อยกว่า สามวัน
1.4) ปิดประกาศสำเนาหนังสือแจ้งผู้ซื้อที่ดินจัดสรรร และบัญชีทรัพย์สินที่สาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ไว้ในที่เปิดเผย ณ บริเวณที่
ทำกา รจัดสรรตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในหนังสือแจ้ง โดยต้องมีผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนลงลายมือชื่อเป็นพยาน ทั้งนี้
ให้ถือว่าผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้รับแจ้งจากผู้จัดสรรที่ดินในวันที่ผู้ จัดสรรที่ดินได้ดำเนินการดังกล่าวทั้ง 3 ประการ คือ ส่งหนังสือทางไปรษณีย์
ลงทะเบียน ประกาศในหนังสือพิมพ์ และปิดประกาศครบถ้วนแล้ว
1.5) อำนวยความสะดวกในด้านเอกสารบัญชีรายชื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรและสถานที่ประชุมตามสมควรแก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรในการดำเนินการ
จัดตั้ง นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฏหมายอื่น
 
.
2. ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรที่มีความประสงค์ จะจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเมื่อได้รับหนังสือแจ้งจากผู้จัดสรรที่ดินให้
จัดตั้ง นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฏหมายอื่น เพื่อรับโอนทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในบัญชีทรัพย์สินฯ
ไปจัดการ ดูแลและบำรุงรักษาจะต้องดำเนินการดังนี้


การดำเนินการ
2.1) จัดให้มีการประชุมผู้ซื้อที่ดินจัดสรร เพื่อมีมติจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และแต่งตั้งตัวแทนยื่นคำขอจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้าน
จัดสรร พร้อมด้วยข้อบังคับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร (มติดังกล่าวต้องมีผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนแปลงย่อย
ที่จัดจำหน่ายตามแผนผัง และโครงการที่ได้รับอนุญาต ลงคะแนนเสียงให้จัดตั้ง และในการลงคะแนนเสียง ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรแต่ละแปลงมี
เสียง เท่ากับหนึ่งคะแนนเสียง และหากได้แบ่งแยกที่ดินแปลงย่อยตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตออกไปอีก ให้ถือว่าผู้ถือครอง
กรรมสิทธิ์ แปลงคงเหลือและแปลงที่ได้แบ่งแยกออกไปมีเสียงรวมกันเท่ากับหนึ่งคะแนนเสียง เช่นเดียวกับเจ้าของรวม)

2.2) จัดทำข้อบังคับที่มีรายการตามที่กำหนดในกฏกระทรวงว่าด้วยการจัดตั้ง การบริหาร การควบ และการยกเลิกนิติบุคคล
หมู่บ้านจัดสรร พ.ศ. 2545 ข้อ 3 ซึ่งผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมีมติให้ความเห็นชอบในที่ประชุม
- ข้อบังคับอย่างน้อยต้องมีรายการดังนี้
1. ชื่อนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
2. วัตถุประสงค์
3. ที่ตั้งสำนักงาน
4. ข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนกรรมการ การเลือกตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง การเริ่มดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และ
การประชุมของ คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรซึ่งต้องประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
5. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินงาน การบัญชี และการเงิน
6. ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
7. ข้อกำหนดเกี่ยวกับกาประชุมใหญ่
8. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ
9. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
2.3) จัดทำรายงานการประชุมครั้งที่มีการประชุม

2.4) ตัวแทนผู้ได้รับแต่งตั้งยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต่อเจ้าพนักงานที่ดินของจังหวัด หรือเจ้าพนักงานที่ดิน
จังหวัด สาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังนี้
- รายงานการประชุมของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร จำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยตามแผนผัง โครงการที่มีมติให้จัดตั้ง
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เห็นชอบข้อบังคับ และแต่งตั้งตัวแทนในการยื่นคำขอจดทะเบียน
- สำเนาข้อบังคับ
- หลักฐานการรับแจ้งให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินกำหนด ให้ผู้จัดซื้อที่ดินจัดสรร
ดำเนินการ
- บัญชีที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดิน ตามแผนผังและโครงการที่
ได้รับ อนุญาต พร้อมสำเนาหนังสือแสดงสิทธิ ในที่ดินที่เกี่ยวข้อง

2.5) เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรสามารถดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้แล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
- แจ้งให้ผู้จัดสรรที่ดินทราบพร้อมกำหนดวันจดทะเบียนโอนทรัพย์สินและส่งมอบเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินต้อง
รับผิดชอบ ตามบัญชีทรัพย์สิน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวทั้งหมดต้องให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินกำหนดในหนังสือ
แจ้งและผู้จัดสรรที่ดินจะพ้นจากหน้าที่การบำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการ
ที่ได้รับอนุญาตเมื่อได้จดทะเบียนโอนทรัพย์สิน และส่งมอบจำนวนเงินค่าบำรุงรักษาฯ ตามบัญชีทรัพย์สินดังกล่าว ให้แก่นิติบุคคล
หมู่บ้านจัดสรรแล้ว
- ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกราย (ผู้เห็นชอบและไม่เห็นชอบให้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร) เป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร กรณีที่ดิน
จัดสรร แปลงย่อยที่ยังไม่มีผู้ใดซื้อหรือได้โอนกลับมาเป็นของผู้จัดสรรที่ดิน ให้ผู้จัดสรรที่ดิน เป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร (47)
- ให้แสดงหนังสือสำคัญการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ไว้ในที่เปิดเผยง่าย ณ สำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
(กฏกระทรวงฯ ข้อ 8 วรรคท้าย)


05 มิถุนายน 2562

ผู้ชม 5606 ครั้ง